วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ไก่ประดู่หางดำทำรายได้งาม

ไก่ประดู่หางดำทำรายได้งาม

  นายกรณ์ภัสสรณ์  นาคคชสีห์ หรือ ผู้ใหญ่นพ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ม.4 ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ มาประมาณ 5 ปี ซึ่งทุกวันนี้ได้พลิกชีวิตประกอบอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงไก่พันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ จนสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ
          ผู้ใหญ่นพ บอกว่า ก่อนจะมาประสบความสำเร็จกับอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงไก่ขาย เคยเลี้ยงวัวมาเป็นเวลา 3 ปี แต่ประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น เป็นโรคต่างๆ หญ้าไม่พอให้วัวกิน โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง จนส่งผลทำให้วัวตาย 10 ตัว ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย ตกอยู่ในสภาวะการขาดทุน หลังจากนั้นก็เลยคิดปรับเปลี่ยนมาเป็นเลี้ยงไก่แทน แล้วก็ได้การตอบรับเป็นอย่างดี
 "ผมเลี้ยงไก่มาเป็นเวลา 1 ปี แรกเริ่มเดิมทีเลี้ยงไก่แม่พันธุ์มา 24 ตัว ก่อนจะเพิ่มมาเป็น 150 ตัว แล้วก็เพิ่มมาเป็น 300 ตัว เนื่องจากเกษตรกรที่นำไก่ไปเลี้ยง ไก่โตไม่ทัน และทางเกษตรกรต้องการลูกไก่เพิ่มอีกอาทิตย์ละประมาณ 200 ตัว เลยต้องเพิ่มจำนวนแม่พันธุ์กับตู้ฟักไข่ เพื่อต้องการฟักลูกไก่ให้ได้อาทิตย์ละ 1,000 ตัว ให้ได้ตรงตามความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งผู้เพาะพันธุ์ลูกไก่เป็นเกษตรกรต้นน้ำ สำหรับผู้ที่นำลูกไก่ไปเลี้ยงก็เป็นเกษตรกรกลางน้ำ ส่วนโรงเชือดก็จะเป็นปลายน้ำ" ผู้ใหญ่นพ กล่าว
          ผู้ใหญ่นพ กล่าวอีกว่า ในการป้องกันโรคของไก่ ก็จะใช้วิธีการทำยาวัคซีนในการป้องกัน เช่น โรคไข่หวัดนก หวัดหน้าบวม อหิวา เป็นต้น โดยตอนนี้อาชีพเลี้ยงไก่เป็นอาชีพที่ได้รับตอบรับดีมาก เพราะไก่โตไม่ทันให้แก่ผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังมีอีกหลายจังหวัดที่ต้องการไก่อาทิตย์ละ 500-700 ตัว ส่วนเรื่องรายได้ที่ได้จากการเลี้ยงไก่ดีขึ้นมาก ในการเลี้ยงไก่จะได้รายได้เป็นอาทิตย์ เช่น ถ้าขายลูกไก่อาทิตย์ละ 200 ตัว ก็จะได้รายได้อาทิตย์ละ 4,000 บาท หักค่าอาหาร 1,000 บาท ดังนั้นจะได้รายได้สุทธิอยู่ 3,000 บาท เนื่องจากลูกไก่ที่ออกจากไข่เลยแบบยังไม่ได้กินอาหารกินน้ำ จะขายอยู่ตัวละ 20 บาท แต่ถ้าจะให้อนุบาลให้ 1 อาทิตย์ พร้อมหยอดยาวัคซีนให้ จะขายอยู่ตัวละ 30 บาท จึงอยากส่งเสริมให้เกษตรกร นำอาชีพเลี้ยงไก่ไปเป็นอาชีพเสริม หรือบางทีอาจจะเป็นอาชีพหลักเลยก็ได้

          ผู้ใหญ่นพ บอกด้วยว่า สำหรับไก่เชือกชำแหละถอนขน ก็จะนำไปขายตามตลาดนัดต่างๆ โดยขายในกิโลกรัมละ 130 บาท จะขายวันละ 20 ตัว ที่ทำสำเร็จนำไปทำอาหารได้เลย แต่ถ้าซื้อเป็นตัวที่ยังไม่ถอนขนหรือเชีอดจะขายกิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งส่วนตัวอยากสนับสนุนให้ลูกบ้านเลี้ยงไก่เป็นอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง หรือจะมาชมฟาร์มที่เลี้ยงก็จะยินดีแนะนำให้คำปรึกษา ได้ที่บ้านเลขที่ 103/1 ม.4 ต.บ้านแก่ง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ 53140 หรือ โทร 084-6212689
ที่มา:https://www.komchadluek.net


วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"ซีพีเอฟ ชูป่าชายเลนสร้างอาชีพเสริมเลี้ยงชันโรง เพิ่มรายได้ให้ชาวประมงสงขลา

"ซีพีเอฟ ชูป่าชายเลนสร้างอาชีพเสริมเลี้ยงชันโรง เพิ่มรายได้ให้ชาวประมงสงขลา

บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)หรือซีพีเอฟ ส่งเสริมชาวประมง ต.ชะแล้ จังหวัดสงขลา เลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้ชุมชนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อคืนสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน


 
 
 
 
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่าชุมชนชะแล้ มีความพร้อม เข้มแข็ง ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อคืนสมดุลธรรมชาติให้เป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนในชุมชน นับเป็นความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)เครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชนและภาคเอกชนผ่านโครงการ“ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน"ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา

จากการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ป่ายังเป็นที่อยู่ของแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศโดยเฉพาะชันโรง ซึ่งเป็นแมลงที่ช่วยผสมเกสรคล้ายผึ้งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน ซีพีเอฟจึงได้ต่อยอดโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงชันโรงให้เป็นอาชีพเสริมของคนในชุมชนโดยนำผู้สนใจไปดูงานเลี้ยงชันโรงที่พัทลุง ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงชันโรงที่มีชื่อเสียงที่สุดของทางภาคใต้เพื่อเผยแพร่ความรู้และทำผลิตภัณฑ์จากชันโรง เช่น น้ำผึ้ง สบู่ เป็นต้น

 
 
 
 
ปัจจุบันมีชาวชุมชน8ครอบครัวที่หันมาเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้นมีรายได้เฉลี่ย50,000 – 60,000 บาทต่อปี ทั้งยังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เช่น น้ำผึ้ง และสบู่ โดยซีพีเอฟมีโครงการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เลี้ยงชันโรง พื่อให้ความรู้แก่คนในชุมชนที่สนใจสามารถนำไปเลี้ยงเป็นอาชีพได้อันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองอย่างมั่นคง”นายวุฒิชัยกล่าว

 
 
 
ซีพีเอฟดำเนินธุรกิจควบคู่กับการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้เสาหลักสู่ความยั่งยืนของบริษัท คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่ โดยทำงานร่วมกับทช. เครือข่ายภาคประชาสังคมและชุมชนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้รวมทั้งสิ้น 2,388 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ยุทธศาสตร์ใน 5 จังหวัด คือ ระยอง สมุทรสาคร พังงา สงขลา และชุมพร สอดล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติหรือSDGs(Sustainable Development Goals)

นายประพัฒน์ โนเรศน์ หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38สงขลา กล่าวว่าป่าชายเลนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจของประเทศ สังคมและชุมชน รวมทั้งความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชนในพื้นที่ เครือข่ายและภาคประชาสังคม ร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูและดูแลการที่ภาคเอกชนอย่างซีพีเอฟ เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ทำให้เกิดประโยชน์ชัดเจนคือเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้กับประเทศและชุมชน กระตุ้นให้ชุมชนในพื้นที่เห็นความสำคัญของป่าชายเลน ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนเอง อาทิ การทำอาชีพประมงพื้นบ้าน นอกจากนี้ในพื้นที่ปลูกป่าชายเลนที่ต.ชะแล้ จ.สงขลา ซีพีเอฟยังเข้ามาสนับสนุนคนในชุมชนเลี้ยงชันโรง ทำให้เกิดการสร้างงานเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

“ภาครัฐอยากเห็นหน่วยงานเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติเพราะภาคเอกชนสามารถนำองค์ความรู้เข้ามาใช้ผสมผสานในการร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่า ส่งเสริมชุมชนให้อยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่าง ซีพีเอฟที่เข้ามาสนับสนุนแนวคิดในการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ รวมถึงงบประมาณในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ก็ทำให้หน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้น”หัวหน้าสถานีทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38 สงขลา กล่าว
 
ที่มา:http://www.acnews.net/

สาวอินดี้ ปลูกกระบองเพชร แบบเข้าใจวิถี เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้

สาวอินดี้ ปลูกกระบองเพชร แบบเข้าใจวิถี เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้


จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีความฝืดเคือง หรือเรียกว่ายุคข้าวยากหมากแพง อาจทำให้หลายๆ คนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกติดขัดในเรื่องของสภาพความคล่องตัวทางการเงินมิใช่น้อย ส่งผลให้เกิดสภาวะหนี้สินมากขึ้น
แต่ในทางกลับกันก็ยังมีผู้คนอีกไม่น้อยที่พยายามมองหาอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้มีมากขึ้นสำหรับพอใช้จ่ายเพื่อให้ตนเองเกิดหนี้สิน แม้จะเป็นเงินเพียงเล็กน้อยอาจไม่มากเท่ากับงานประจำที่ทำ แต่ก็ทำด้วยใจรักจสามารถเป็นงานที่สร้างเงินได้ เหมือนเช่น คุณวรินดา สุวรรณทอง อยู่บ้านเลขที่ 351 ถนนเลียบคลองมอญ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
คุณวรินดา สาวอินดี้ผู้รักความอิสระ เล่าให้ฟังว่า ปัจุบันตัวเธอทำงานเป็นสาวออฟฟิศ แต่มีความชอบในเรื่องของการปลูกต้นกระบองเพชร มาตั้งแต่ ปี 2551 สมัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในช่วงนั้นคือ ได้ศึกษาวิธีการปลูกเลี้ยงตามโซเชียลมีเดียต่างๆ
“เหตุที่ปลูกต้นกระบองเพชร เพราะว่าช่วงนั้นซื้อมาเพื่ออยากเอาไว้ถ่ายรูป เพราะดูแล้วมันสวยดี คราวนี้พอดูๆ ไป เห็นว่าเอ้ย! มันก็สวยแปลกกว่าไม้อื่น ก็เลยชอบ แล้วก็ปลูกมาเรื่อยๆ ซื้อตามหลายๆ ที่ เจอสายพันธุ์ไหนก็จะซื้อมาเลี้ยงดู พอมาปลูกเยอะจำนวนมากก็คิดในใจนะ คิดว่ามันน่าจะเลี้ยงง่าย ขึ้นชื่อว่าต้นกระบองเพชรไม่น่าจะยุ่งยาก ทนแล้ง แต่พอมาปลูกจริงๆ นี่มันไม่ใช่อย่างที่คิด ก็มีตายเยอะเหมือนกัน” คุณวรินดา เล่าถึงที่มา
จากความชื่นชอบในครั้งนั้น คุณวรินดา บอกว่า ใช้เวลาศึกษาเกือบ 3 ปี กว่าจะปลูกกระบองเพชรให้ประสบผลสำเร็จแบบเข้าใจนิสัยอย่างแท้จริง เรียกง่ายๆ ว่า สามารถขยายพันธุ์และเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตจำหน่ายเป็นเงินแบบเป็นรายได้เสริมได้แบบสบายๆ ตามสไตล์สาวอินดี้อย่างเธอ
Ka-2-728x971
“ตอนมาปลูกหลงคิดไปเองว่า กระบองเพชร น่าจะชอบแดด อยู่กลางแจ้งแบบจัดๆ แต่ที่จริงไม่ใช่ เราต้องทำที่ร่มให้อยู่บ้าง สามารถกันเรื่องน้ำฝนได้ ส่วนเรื่องแสงแดดที่แรงมากก็จะใช้ตาข่ายพรางแสงเข้ามาช่วย เพื่อให้ได้แสงพอดีเท่าที่ควร ซึ่งการดูแลหลักๆ ก็อาจไม่มีอะไรมาก ก็พอต้นไหนเริ่มใหญ่เราก็เปลี่ยนกระถาง ส่วนดินที่ใช้ปลูกก็คิดเอง เรียกว่าไม่มีสูตรที่ตายตัว ดูเองว่าพันธุ์ไหนเหมาะที่จะใช้ดินผสมแบบไหน บางครั้งก็นำความรู้ที่ได้จากการอ่านศึกษามาปรับใช้ด้วย ก็ถือว่าได้ประโยชน์สุดๆ เพราะเดี๋ยวนี้การแก้ปัญหาไม่ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน” คุณวรินดา อธิบาย
เมื่อต้นกระบองเพชรที่ทำมีจำนวนมากขึ้น คุณวรินดา บอกว่า ก็จะนำต้นที่สวยๆ มาถ่ายรูปลงในอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ส่วนตัวของเธอ ทำให้คนที่พบเห็นเกิดความสนใจและติดต่อขอซื้อ ทำให้เธอมีรายได้เสริมกับการจำหน่ายต้นกระบองเพชรไปด้วยอีกทาง
“การจำหน่าย ก็จะมีพี่ๆ ที่ทำงานที่บริษัทเดียวกันมาถามบ้าง เพื่อนๆ บ้าง ประมาณว่าตอนนี้มีสายพันธุ์ไหนที่แยกหน่อไว้เยอะๆ พอจะมาขอซื้อได้ไหม ก็จะเอาไปจำหน่ายให้เขา ซึ่งราคาก็อยู่ที่ 20 บาท จนถึงราคา 60 บาท ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับขนาดไซซ์และสายพันธุ์ ก็ไม่ได้จำหน่ายราคาแพงมาก ตกเดือนหนึ่งจำหน่ายได้เงินมา 2,000-3,000 ก็ถือว่าคุ้มค่า หรือจำหน่ายได้เดือนเว้นเดือนก็ไม่เป็นไร เพราะอย่างน้อยก็มีรายได้ที่ทำจากสิ่งที่เรารัก ก็ยังดีกว่าที่เราไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะเราทำให้มันเป็นอาชีพเสริม มันก็ใช้พื้นที่ไม่มาก อยู่ในรั้วบ้านเรา ขอให้มีการจัดการที่ดีให้มันสร้างเงิน มันก็เป็นรายได้เสริมมาใช้จ่ายได้” คุณวรินดา กล่าว
สำหรับท่านใด ที่มีความสนใจอยากปลูกต้นกระบองเพชร แต่ปลูกเลี้ยงเท่าไหร่ก็ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร คุณวรินดา มีคำแนะนำจากประสบการณ์ของเธอว่า
“สิ่งแรกที่จะปลูกแล้วสำเร็จ คือต้องเข้าใจนิสัยของมันก่อน มันต้องการอะไรยังไง เพราะบางต้นมันก็ไม่ชอบแดด เราต้องเข้าใจนิสัยของมันให้หมด ดูอีกด้วยว่าเราชอบจริงไหม จะปลูกมัน รักมันแค่ไหน ไม่ใช่เพราะเห็นเขาปลูกก็ปลูกตามกระแส แล้วเราจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับมัน ในวิถีที่กระบองเพชรเป็น ว่ามันชอบอุณหภูมิแบบไหน สภาพแวดล้อมยังไง แล้วสิ่งที่เราทำด้วยความรัก มันก็จะสร้างเงินให้เราเอง แม้ไม่มากแต่ก็ทำด้วยความสุข เท่านี้ก็ถือว่าสุขใจที่สุดของชีวิตแล้ว” คุณวรินดา กล่าว
ที่มา:https://www.sentangsedtee.com

การเลี้ยงปลากัด งานอดิเรก ขายราคาดี

การเลี้ยงปลากัด งานอดิเรก ขายราคาดี


พี่น้องเอ๊ย… คั่นหว่าปลาเก่งนั่น มีได้อยู่ทุกหม่อง ขั่นแม่นเฮาดู๋หมั่น กะสิได้ปลาเก่งนอนำหมู่เผิ่น พี่น้องเอ๊ย… มาพบมาเจอกันอีกแล้วครับพี่น้อง มื้อนี้อีสานร้อยแปดสิมาเว่าเรื่องการเลี้ยงปลากัด เลี้ยงเป็นงานอดิเรกก็ได้ เลี้ยงขายพันธุ์ก็ราคาดี  ปลากัด จัดเป็นปลาที่สวยงามและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย  อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่ชื่นชอบ ปลากัดที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลากัดหม้อ  ปลากัดจีน โดยปลากัดจีนจะเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม และส่งขายเป็นหลัก ส่วนปลากัดหม้อจะเพาะเลี้ยงเพื่อนำมาต่อสู้กัน  การเลี้ยงปลากัดสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายในประเทศไทยมีมูลค่าปีละ 10 – 15 ล้านบาท ส่วนต่างประเทศที่มีการส่งออกพันธุ์ปลากัดสร้างรายได้กว่า 50 ล้านบาท / ปี
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด

พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลากัด

การคัดเลือกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ควรหาปลาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่เชื่อถือได้ ปลากัดเพศผู้ต้องแข็งแรง สีสวย ไม่เซื่องซึม ชอบสร้างหวอด หรือ พ่นฟองอากาศ ซึ่งบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางเพศที่พร้อมผสมพันธุ์ ส่วนปลากัดเพศเมีย ควรเป็นปลาที่แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว บริเวณท้องอวบอูม ใต้ท้องมีตุ่มสีขาวที่เรียกว่า ไข่นำ ที่อยู่ใกล้กับรูก้น
การผสมพันธุ์ปลากัด
การผสมพันธุ์ปลากัด

ภาชนะสำหรับการเลี้ยงปลากัด

ภาชนะสำหรับใช้เลี้ยงปลากัดอาจเป็นขวดโหลขนาดพอเหมาะ หรือตู้กระจกขนาดเล็ก เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยชอบต่อสู้ จึงควรแยกเลี้ยงเดี่ยวในภาชนะ  แต่หากเป็นปลากัดเพศเมียจะมีนิสัยไม่ดุร้าย และสามารถเลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนมากได้
ขวดโหลเลี้ยงปลากัด
ขวดโหลเลี้ยงปลากัด

การให้ออกซิเจนในการเลี้ยงปลากัด

สำหรับปริมาณออกซิเจนที่ใช้เลี้ยงปลากัด จะอยู่ในระดับต่ำ เพราะปลากัดจะหายใจโดยการงับอากาศที่บริเวณผิวน้ำ เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ดังนั้น การเลี้ยงปลากัดจึงไม่ต้องใช้ท่อออกซิเจนในภาชนะเลี้ยงปลา
ขวดเลี้ยงปลากัด
ขวดเลี้ยงปลากัด

ดูแลน้ำเลี้ยงปลากัด

น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลากัด อุณหภูมิไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส และไม่ควรมีอุณหภูมิต่ำเกินไป เป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน เพราะจะเป็นอันตรายต่อปลากัดได้

เคล็ดลับการเลี้ยงปลากัด

ข้อควรระวัง คือ หากใช้น้ำประปา ควรพักน้ำประปาไว้ 2 วัน เพื่อรอให้คลอรีนระเหย  แต่ไม่ควรใช้น้ำกรองหรือน้ำแร่ เพราะจะ               ทำให้ปลากัดเซื่องซึมและตายได้  ก่อนจะบรรจุน้ำลงไป  ¾  ของภาชนะ และควรถ่ายน้ำ 1 – 2 ครั้ง / สัปดาห์ ซึ่งสามารถ                   เปลี่ยนน้ำทั้งหมด หรือดูดตะกอนและน้ำออกบางส่วน เพื่อรักษาสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อปลากัด แต่ไม่ควรใช้             สารทำความสะอาด เพราะอาจเกิดการตกค้างและเป็นอันตรายต่อปลากัดที่เพาะเลี้ยงได้
เพาะเลี้ยงปลากัด
เพาะเลี้ยงปลากัด

อาหารเลี้ยงสำหรับเลี้ยงปลากัด

ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัด จะนิยมเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ไรแดง ไรสีน้ำตาล หนอนแดง ลูกน้ำ แต่ควรนำมาทำความสะอาดในด่างทับทิมประมาณ 0.5 – 1.0 กรัม / ลิตร ประมาณ 20 วินาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก่อนนำไปเป็นอาหารปลา หรือหากใครไม่สะดวกก็สามารถฝึกให้ปลากัดกินอาหารเม็ดและเนื้อสัตว์ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆได้  การให้อาหารควรให้วันละ 1 ครั้ง ในปริมาณที่พอเหมาะ หากทำอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ปลากัดก็จะแข็งแรง มีสีสันสวยงามและอยู่ได้นาน
ไรแดง-อาหารปลากัด
ไรแดง-อาหารปลากัด
อีสานร้อยแปดก็มีเคล็ดลับและเทคนิคการเลี้ยงปลากัดมาฝากพี่น้อง นั่นก็คือ ให้ปลากัดได้บริหารร่างกายและมีครีบที่สวยงาม ควรเปิดให้ปลากัดได้พองครีบอย่างน้อยวันละ  2 – 3 ครั้ง จะทำให้หางกระโดง ยืดออกและกางมากขึ้น ไม่ห่อเหี่ยวและยังช่วยให้ปลากัดได้บริหารร่างกายอีกด้วย
ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นเคล็ด (ไม่) ลับซึ่งสามารถทำได้  สำหรับผู้ใด๋ที่รักปลากัด คราวหน้าอีสานร้อยแปดจะมีเรื่องราวดี ๆ มาบอกต่อให้ได้ฟังกันอีกแน่นอน
ปลากัดสวยงาม
ปลากัดสวยงาม

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

  • การเพาะเลี้ยงปลากัด ศูนย์พัฒนาประมงพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • ปลากัด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ประกาศซื้อขายพันธุ์ปลากัด และอุปกรณ์เลี้ยงปลากัด ฟรี ที่อีสานร้อยแปดดอทคอม



ทางเลือกใหม่!! ''เลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์'' เลี้ยงง่าย 3-4 เดือนจับขายได้

ทางเลือกใหม่!! ''เลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์'' เลี้ยงง่าย 3-4 เดือนจับขายได้



         พูดถึงอาชีพแล้วหลายคนนึกถึงอะไรกัน? เชื่อว่าคงนึกถึงแต่อาชีพทั่วๆไปอย่าง คุณครู หมอ พยาบาล พนักงานออฟฟิต กันแน่ๆเลย แต่ทุกคนทราบกันดีใช่ไหมคะ อาชีพในปัจจุบันไม่ได้มีอยู่แค่นี้

         วันนี้ GangBeauty เลยมีอีก 1 อาชีพมานำเสนอ สามารถทำได้ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย จะทำเป็นอาชีพหลัก หรือเป็นอาชีพเสริมก็ได้ นั้นก็คือ "เลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์"

         อย่าพึ่งคิดกันว่ามันยุ่งยากและหลายขั้นตอนกันนะคะ เราไปดูกันว่าการเลี้ยง "เลี้ยงปลาช่อนในบ่อซีเมนต์" ต้องทำยังไงบ้าง...



         เริ่มจากเตรียมบ่อซีเมนต์หลายขนาด จากนั้นหาลูกปลาช่อนขนาดตัว 1-2 นิ้ว มาเลี้ยง ระยะนี้ให้ใช้อาหารชนิดผงของปลาดุกเล็กมาปั้นก้อนขนาดเท่าหัวแม่มือ 2-3 ก้อน ให้เป็นอาหาร สัปดาห์ต่อมาควรฝึกให้กินจิ้งหรีดตัวเล็กๆ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จะย้ายปลาช่อนลงบ่อเลี้ยงขนาด 5?10 เมตร จำนวนบ่อละ 2,000 ? 3,000 ตัว ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัว และแคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปใส่ในบ่อ ช่วงนี้กรณีมีจิ้งหรีดไม่เพียงพอ ให้ใช้หอยเชอรี่มาต้มทั้งตัว และแคะเอาแต่เนื้อหอยมาสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปให้ปลาช่อนกิน โดยประมาณ 15 วัน จะต้องทำความสะอาด และเปลี่ยนถ่ายน้ำ



         ตลอดระยะเวลาช่วงเลี้ยง 8-9 เดือน ซึ่งตัวรุ่นเล็ก 2,500 ตัว จะได้น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1,200 กิโลกรัม จะขายกิโลกรัมละ 60 บาท เป็นอย่างต่ำ รวมแล้วเป็นเงิน 72,000 บาท การลงทุนหากไม่คิดค่าบ่อ คิดแต่ค่าอาหารช่วงปลาเล็กๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ใช้แรงงานในครัวเรือนแล้วใช้เงินประมาณ 1,500บาท/รุ่น ซึ่งก็ทำให้มีกำไรสูงมาก ถ้าเลี้ยงหมุนเวียนประมาณ 3 บ่อ ก็จะมีรายได้เป็นจำนวนมาก



         นอกจากนี้ ปลาช่อนยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่ขายได้ทุกขนาด และเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ยิ่งน้ำหนักตัวละ 8-9 ขีด ไปจนถึง 1กิโลกรัม จะได้ราคาดี อยู่ที่กิโลกรัมละ70-80 บาท หากนำปลาช่อนไปเผา จะขายได้ตัวละ 90-100 บาท โดยปลาช่อนที่มีขนาดเล็ก ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-60 บาท แต่หากแปรรูปเป็นปลาเค็ม และปลาช่อนแดดเดียว จะอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 120 บาท เลยทีเดียว



ที่มา:http://www.gangbeauty.com

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติกทำรายได้ดี อาชีพเสริมที่น่าสนใจมาก

เลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติกทำรายได้ดี อาชีพเสริมที่น่าสนใจมาก



เลี้ยงปลาซิวในบ่อพลาสติกทำรายได้ดี อาชีพเสริมที่น่าสนใจมาก

นายบุญชิต สมัตถะ ประธานศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านท่าแจ้ง ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เชี่ยวชาญการทำเกษตรผสมผสานเน้นเกษตรอินทรีย์พึ่งพาตนเอง เปิดศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกรเข้ามาอบรมหาความรู้ด้านการเกษตรสามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้ วันนี้จะแนะนำวิธีการเลี้ยงปลาซิวเพื่อเป็นอาหารหรือรายได้เสริม ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน


ขั้นตอนการเลี้ยงปลาซิว

1.เตรียมบ่อเลี้ยงขนาดบ่อ 2×4 เมตร ลึก 1 เมตร (เป็นบ่อปูนหรือบ่อพลาสติกก็ได้)
2.หลังจากเตรียมบ่อแล้วให้ทำการเปิดน้ำเข้าบ่อสูง 80 เซนติเมตร และนำท่อนกล้วยลงแช่ในบ่อเพื่อดูดซับกลิ่นปูนและกลิ่นเคมีจากพลาสติก แช่นาน 1 สัปดาห์
3.นำปลาซิวลงบ่อเลี้ยงประมาณ 10 กิโลกรัม
4.อาหารให้รำอ่อน วันละ 1 ครั้ง
5.ระบบการถ่ายน้ำให้ทำการถ่ายน้ำโดยการเปิดก๊อก น้ำใส่บ่อและทำตัวจุกระบายน้ำออกจากบ่อที่ก้นบ่อด้วย และนำมุ้งเขียวกันไว้ไม่ให้ปลาหลุดออกจากบ่อตามท่อระบายน้ำ (ให้ทำการถ่ายน้ำปีละ 1 ครั้ง)
6.ปรับปรุงสภาพน้ำโดยใส่น้ำหมักฮอร์โมนแม่ ½ ลิตร ต่อ เดือน
7.อาหารเสริมสามารถนำปลวกมาสับให้ละเอียดเพื่อนำ ไปเป็นอาหารเสริมเพิ่มโปรตีนให้ปลาซิวได้ เลี้ยงไว้ 2-3 เดือนสามารถจับขายหรือกินได้ การจำหน่ายราคากิโลกรัมละ 100 บาทสูตรน้ำหมักฮอร์โมนแม่




ส่วนผสม
1.ยอดผักบุ้ง หน่อกล้วย หน่อไม้ รวมกัน 10 กก.
2.กากน้ำตาล 10 ลิตร
3.ฟอสเฟต 10 กก.
4.รำละเอียด 2.5 กก.
5. เกลือ 2 ขีด
6.หัวเชื้อ 1 ลิตร ((กากน้ำตาล 4 ลิตร +สารเร่งพด2.1 ซอง+น้ำ 200 ลิตร ผสมกัน)
7. น้ำ 70 ลิตร

วิธีการทำ
1.นำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ
2.นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15 วัน สามารถนำไปใช้ได้

การนำไปใช้
ฉีดพ่นหรือราดลงดิน เพื่อบำรุงพืชผักสวนครัว พืชสวน พืชไร่ ไม้ผลทุกชนิด เพื่อเพิ่มเติมความเขียวงาม เป็นอาหารเสริม และทำให้ลำต้นแข็งแรง และช่วยบำบัดน้ำเสียปรับสภาพน้ำ

ที่มา : http://www.chit-in.com

ปลากัด และการเลี้ยงปลากัด

ปลากัด และการเลี้ยงปลากัด


ปลากัด จัดเป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านความสวยงาม การกีฬา และการสร้างรายได้ที่แน่นอนให้กับเกษตรกรหรือผู้ชื่นชอบ โดยปลากัดที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลากัดหม้อ และปลากัดจีน โดยปลากัดจีนจะเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม และเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ส่วนปลากัดหม้อจะเพาะเลี้ยงเพื่อการนำมาต่อสู้กัน มูลค่าการซื้อขายในประเทศแต่ละปีประมาณ 5 – 10 ล้านบาท ส่วนตลาดต่างประเทศที่มีการส่งออกสามารถสร้างรายได้มากกว่า 20 – 30 ล้านบาทต่อปี
ปลากัด เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงมานาน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ชาวต่างชาติมักรู้จักในชื่อ Fighting Fish หรือ Siamese Fighting Fish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan จัดเป็นปลาพื้นเมืองดั้งเดิมของไทยที่นิยมเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อดูเล่น  และเพื่อกีฬากัดปลา พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ตามห้วยหนอง คลอง บึง แอ่งนํ้า ลำคลอง รวมทั้งอ่างเก็บนํ้าบริเวณนํ้าตื้น มักพบในจุดนํ้าที่ค่อนข้างใส และน้ำนิ่ง หรือแหล่งนํ้าที่มีต้นไม้นํ้าขึ้น เช่น กก หญ้าปล้อง ธูปฤาษี เป็นต้น
ประวัติปลากัด
ปี พ.ศ. 2383 พระมหากษัตริย์ไทยได้มอบปลากัดแก่นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ จากสถาบันเบนเกลเมดิคอล เซอร์วิสของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นวาดภาพ และบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับ
ปลากัดไว้ ในปี พ.ศ. 2392 นายแพทย์เดียวดอร์ แคนเตอร์ ได้ตั้งชื่อให้ว่า Macropodus pugnax, Var. แต่พบว่าเกิดความสับสนระหว่างชนิดปลากัดกับปลาชนิดอื่นที่มีการค้นพบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกันบ่อย ทำให้มีการตรวจสอบอีกครั้งในปี พ.ศ.2452 โดย ซี. เท็ด เรแกน และได้ให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ปลากัดว่า Betta splendens หมายถึง นักรบผู้สง่างาม

พบหลักฐานบันทึกถึงการเริ่มนำปลากัดไทยไปเลี้ยงในยุโรป ปี พ.ศ. 2414 โดยมีการเพาะสำเร็จที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ได้นำเข้าไปในเยอรมันนี ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2439 และเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2453
ลักษณะทางอนุกรมวิธาน
ปลากัด เป็นปลามีเกล็ดจัดอยู่ในกลุ่มของปลากริม ปลาหมอไทย ปลากระดี่ ปลาสลิด มีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish หรือมักเรียก Fighting Fish จัดอนุกรมวิธานได้ ดังนี้

Phylum : Chordata
Subphylum : Vertebrata
Superclass : Gnathostomata
Class : Actinopterygii
Subclass : Neopterygii
Division : Teleostei
Subdivision : Euteleostei
Superorder : Acanthopterygii
Series : Percomorpha
Order : Perciformes
Suborder : Anabantoidei
Family : Belontidae
Subfamily : Macropodinae
Genus : Betta
Species : Betta splendens

ปลากัด
ลักษณะโดยทั่วไป
ปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลักษณะลำตัวยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากเล็ก และค่อนชี้ขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีกระดูกอยู่ที่ด้านหน้าช่องตา (preorbital) และมีเกล็ดละเอียดขนาดเล็กปกคลุมอยู่ทั่ว ทั้งส่วนหัว และตัว ความยาวจากจงอยปากถึงโคนครีบหาง ยาวประมาณ 2.9 – 3.3 เท่า ของความกว้างของลำตัว และ 3.0 – 3.3 เท่าของความยาวหัว หรือมีขนาดได้ไม่เกิน 6 เซนติเมตร

ครีบหลังอยู่ค่อนทางด้านหาง  ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1 – 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 – 9 ก้าน ฐานครีบก้นยาวที่เริ่มจากครีบท้องถึงโคนครีบหาง โดยประกอบด้วยก้านครีบเดี่ยว 2 – 4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21 – 24 ก้าน ส่วนครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ทั้งนี้ ปลากัดจะไม่มีเส้นข้างตัว ส่วนสีเกล็ดหรือลำตัวมีหลายสี เช่น แดง คราม เขียว นํ้าเงิน และสีผสมต่างๆ โดยพบว่า สีของเพศผู้จะมีสีสวยงามกว่าเพศเมีย
ปลากัดมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจร่วมกับเหงือก เรียกว่า Labyrinth organ ซึ่งจะอยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกอ่อนบาง ๆ เรียงซ้อนทับไปมา และมีรอยหยักคล้ายดอกเห็ดหูหนูขาว บนแผ่นจะประกอบด้วยเส้นเลือดฝอยจำนวนมาก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้โดยตรงจากอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือก จึงเป็นความพิเศษที่ทำให้ปลากัดสามารถอาศัยในน้ำที่ไม่มีออกซิเจนได้ ซึ่งจะเริ่มมีเมื่อปลามีอายุประมาณ 10 วัน
โดยธรรมชาติ ปลากัดจะมีนิสัยก้าวร้าว และหวงถิ่น มีนิสัยชอบกัดต่อสู้กัน ซึ่งพบได้มากในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และปลากัดเพศผู้ยังมีนิสัยชอบทำร้ายปลากัดเพศเมีย พฤติกรรมนี้จะแสดงออกเมื่อมีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือน
พันธุ์ปลากัด
ปลากัดที่พบในธรรมชาติในช่วงแรกๆ จะมีสีเพียงไม่กี่สี คือ สีนํ้าตาลขุ่น และสีเทาแกมเขียว มีลักษณะครีบ และหางสั้น โดยเพศผู้จะมีครีบ และหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย ต่อมาได้มีการเพาะพัฒนาสายพันธุ์จนกระทั่งมีครีบแผ่ใหญ่ และสวยงามมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิม ในปัจจุบันมีการจำแนกปลากัดออกเป็นหลายพันธุ์ ได้แก่
1. ปลากัดลูกป่า/ปลากัดทุ่ง
เป็นปลากัดที่พบได้ตามธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวเล็ก บอบบาง ครีบ และหางสั้น มีสีนํ้าตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว เป็นสีไม่ค่อยสวย และไม่ทนทานในการกัดเท่าปลากัดลูกหม้อ โดยเวลากัดกันจะใช้เวลาน้อยมาก

ปลากัดทุ่ง
2. ปลากัดลูกหม้อ/ปลากัดไทย/ปลากัดครีบสั้น
เป็นปลากัดพัฒนามาจากการเพาะเลี้ยง และการคัดพันธุ์มาหลายชั่วอายุ เพื่อการกัดต่อสู้โดยเฉพาะ มีรูปร่างลำตัวที่โตกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม  มีลักษณะปากใหญ่ ว่ายนํ้าปราดเปรียว สีสันสวยงามหลากสี เช่น สีแดงเข้ม นํ้าเงินเข้ม นํ้าตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีต่างๆ ปลาชนิดนี้กัดได้ทรหดยิ่งกว่าชนิดอื่น ใช้เวลาในการกัดนาน จึงนิยมเลี้ยงมากกว่าปลากัดลูกทุ่ง และปลากัดลูกผสม โดยแบ่งประเภทของปลากัดลูกหม้อตามรูปร่างของร่างกาย ได้แก่
– ปลากัดลูกหม้อทรงปลาช่อน มีลัษณะลำตัวยาว  ทรงกระบอก คล้ายปลาช่อน มีหน้าสั้น ช่วงหัวยาวและโคนหางใหญ่ ถือเป็นปลาที่มีลีลาการต่อสู้ที่ดุดัน และมีพละกำลังมาก มีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่งในเวทีต่างๆ

ปลากัดหม้อ
– ปลากัดลูกหม้อทรงปลาหม้อ มีลัษณะลำตัวสั้น หนา ลำตัวกว้างหนาเมื่อมองจากทางด้านข้าง และด้านบน ลักษณะลำตัวคล้ายกับปลาหมอไทย เป็นปลาที่ทรหด และว่องไวในการกัด
– ปลากัดลูกหม้อทรงปลากราย มีลัษณะมีหน้างอนขึ้น ลำตัวสั้นแบน เป็นปลาที่คล่องแคล่ว และว่องไวในการกัด และมีประวัติการกัดที่ยอดเยี่ยม
3. ปลากัดลูกผสม
ปลากัดลูกผสมมีชื่ออีกอย่างว่า ลูกสังกะสี หรือลูกตะกั่ว เป็นปลาที่มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกทุ่งกับปลากัดลูกหม้อ มีลักษณะลำตัวที่เกิดจากการผสม มีความอดทนในการต่อสู้เหมือนกับปลากัดหม้อ ลำตัวมีหลายสี  เป็นปลาที่นิยมเลี้ยง และนำมากัดพนันกันมากไม่แพ้ปลากัดลูกหม้อ

4. ปลากัดจีน/ปลากัดครีบยาว/ปลากัดเขมร
เป็นพันธุ์ปลากัดที่ค้นพบโดยนักเพาะพันธุ์ปลากัดหม้อ โดยพบบังเอิญขณะที่พัฒนาปลากัดให้ได้ลักษณะครีบยาว ใหญ่ และให้มีหลากหลายสีที่สวยงาม จนได้ปลากัดที่มีลักษณะหางเป็นพวง คล้ายปลาทอง สีของปลากัดชนิดนี้ ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียวม่วง สีนํ้าเงิน ฯลฯ รวมถึงการผสมหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ถือเป็นปลากัดที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายออกต่างประเทศ ทำให้สร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามมีแหล่งเพาะเลี้ยงที่สำคัญในแถบภาคกลาง และภาคตะวันตก เช่น ปทุมธานี อยุธยา ราชบุรี นครปฐม เป็นต้น

ปลากัดจีน
รูปแบบสีปลากัด
1. สีเดียว (solid color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีเดียวกันทั้งหมดทั้งครีบ และลำตัว โดยไม่มีสีอื่นแต้มหรือปะปน ยกเว้นเขม่าดำที่พบจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบ และขอบเกล็ด ส่วนตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ แต่ปลากัดเผือกที่ลำตัว และครีบท้องจะมีสีอื่นไม่ได้ ส่วนครีบหูนั้น อนุโลมให้เป็นครีบกระจก (ครีบที่มีลักษณะใส) ได้

2. สองสี (bi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีสีลำตัวสีเดียว และสีครีบสีเดียว ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีสีแตกต่างกัน ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้

3. หลากสี (multi-color) หมายถึง ปลากัดที่มีตั้งแต่สองสีขึ้นไป ทั้งส่วนของลำตัว และครีบ ยกเว้นเขม่าดำบริเวณปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนของตะเกียบอนุโลมให้มีสีอื่นได้ ส่วนครีบหูอนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้
ลักษณะลำตัวปลากัด แบ่งได้ ดังนี้
1. รูปทรงปลาช่อน จะมีลักษณะลำตัวยาว หัวใหญ่เหมือนปลาช่อน รูปร่างเพรียว
2. รูปทรงปลาหมอ จะมีลักษณะตัวสั้น และค่อนข้างอ้วน
3. รูปทรงปลากราย จะมีลักษณะหน้าเชิด ลำตัวตรง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มองด้านบนจะผอมบาง มีครีบอก และครีบก้นยาว
4. รูปทรงปลาตะเพียน จะมีลักษณะลำตัวป้อม และครีบยาวสวยงาม

รูปแบบครีบหาง แบ่งได้ ดังนี้
– หางรูปสามเหลี่ยม (delta tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และแผ่โค้ง ปลายหางกลมมน ก้านครีบตรงถึงปลาย
– หางหวีหรือหนามเตย (comb tail) ครีบหางจะมีขนาดใหญ่ และยาว บริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้องมีลักษณะเป็นหนาม
– หางมงกุฎ (crown tail) ครีบหางจะยาวมากกว่าแบบหางหวี ก้านครีบที่แผ่ออกจะตั้งตรงตั้งแต่โคนครีบหางถึงปลายครีบหาง และจะพบลักษณะเป็นหนามบริเวณปลายครีบหาง ครีบหลัง และครีบท้อง ก้านครีบหางเป็นทั้งก้านครีบเดี่ยวหรือก้านครีบคู่
– หางคู่ (double tail) ครีบหางจะมีลักษณะสองแฉก

การเลี้ยงปลากัด
1. การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด
การเลี้ยงปลากัดเพื่อเพาะเป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเลือกลูกปลาที่มีอายุประมาณ 1.5 – 2 เดือนขึ้นไป ด้วยการเลือกคุณสมบัติในเชิงต่อสู้ ซึ่งมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวขณะเลี้ยง แล้วรีบแยกเลี้ยงในภาชนะเพียงตัวเดียว ทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ก่อนจะเลี้ยงรวมกันในช่วงฤดูผสมพันธุ์

วิธีสังเกตเพศปลากัด
– ดูสี
ปลากัดเพศผู้จะมีสีเข้มกว่าเพศเมีย ลายบนลำตัวเด่นชัดกว่าตัวเมีย ซึ่งจะดูได้ชัดเจนเมื่อปลามีอายุประมาณ 2 เดือนขึ้นไป

– ดูครีบ และกระโดง
ปลากัดตัวผู้จะมีครีบท้องยาวกว่าตัวเมีย และกระโดงยาวไปจรดหาง ส่วนตัวเมียกระโดงจะสั้นกว่า

– ดูท่อนำไข่
หากมีจุดขาวบริเวณใต้ท้องจะเป็นตัวเมีย ซึ่งเป็นจุดของท่อนำไข่

– ดูปาก
ปลากัดที่มีวงปากเป็นสีแดงแสดงว่าเป็นตัวผู้ ซึ่งใช้สังเกตได้ตั้งแต่ปลาอายุประมาณ 20 วัน

– ดูขนาดลำตัว
ปลาตัวผู้จะมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียในช่วงอายุที่เท่ากัน

ภาชนะที่ใช้เลี้ยงปลากัด ควรเป็นภาชนะขนาดเล็ก และปากไม่เปิดกว้างมาก เพื่อป้องกันการกระโดดของปลา และป้องกันศัตรูที่อาจจับกินปลา เช่น แมว จิ้งจก ฯลฯ และควรจัดทำเป็นชั้นวางขวดเพื่อประหยัดพื้นที่ และช่วยให้สะดวกในการจัดการ การให้อาหาร พื้นที่เลี้ยงควรมีอากาศถ่ายเทได้ดี โดยเฉพาะในฤดูร้อน เพราะอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากจะมีผลกระทบต่อปลากัดอย่างรวดเร็ว ทำให้ปลาตายได้ง่ายหากอุณหภูมิสูง (อุณหภูมินํ้าไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส ) และอุณหภูมิต่ำจะทำให้ปลาไม่กินอาหาร เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายเช่นกัน
นํ้าที่เลี้ยงต้องปราศจากคลอรีน ควรเป็นน้ำบ่อธรรมชาติหรือน้ำบาดาล ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประปา ความเป็นกรด – ด่าง (pH) ของน้ำประมาณ 6.5 – 7.5 ความกระด้าง (hardness) 75 – 100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (alkalinity) 150 – 200 มิลลิกรัม/ลิตร
2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลา ในขั้นตอนแรกต้องหาปลาที่มีสายพันธุ์ปลาที่ดีจากแหล่งเลี้ยงหรือแหล่งเพาะพันธุ์ที่เชื่อถือได้ โดยให้ความสำคัญกับรูปร่างลำตัว เช่น ต้องมีความสมส่วนทั้งลำตัว ครีบ และหาง ตะเกียบยาวเสมอกันทั้ง 2 ข้าง เมื่อพองขอบครีบหลังจรดครีบหางสีสด แข็งแรง และปราดเปรียวและพ่อแม่ปลาที่นำมาผสมกันควรมีอายุ 5 – 6 เดือนขึ้นไป

เนื่องจากลาอายุน้อยจะมีขนาดตัวเล็กทำให้ปริมาณไข่น้อย แม่ปลามีอายุ 3 เดือน นํ้าหนักตัว 0.7 – 0.8 กรัม จะมีไข่ 100 – 300 ฟอง/ครั้ง แต่ถ้ามีอายุ 5 – 6 เดือนขึ้นไป จะให้ไข่ 500 – 1,000 ฟอง/ครั้ง
การคัดเลือกปลาเพศผู้ และเพศเมียมาผสมพันธุ์ ควรตรวจความสมบูรณ์เพศ โดยใช้หลักการ
ดังนี้
– ปลาเพศผู้ต้องแข็งแรง ไม่เซื่องซึม สีสวย เป็นปลาที่ชอบสร้างหวอด (การพ่นฟองอากาศที่มี
นํ้าเมือกจากปาก และลำคอสำหรับเพศเมียวางไข่) ซึ่งแสดงถึงปลาเพศผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางเพศพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้
– ปลาเพศเมีย ควรเป็นปลาที่แข็งแรง ไม่เซื่องซึม ว่ายน้ำ ปราดเปรียว บริเวณท้องอูมเป่ง ใต้ท้องมีตุ่มสีขาวที่เรียกว่าไข่นำ ซึ่งอยู่ใกล้กับรูก้น

3. วิธีการเพาะพันธุ์
นำปลากัดเพศผู้ และเพศเมียที่คัดไว้ ใส่ขวดแล้วนำมาวางติดกัน ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า เทียบคู่ เพื่อเป็นการเร่งให้ไข่พัฒนาเร็วขึ้น ขณะที่มีการเทียบคู่ควรปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ ใช้เวลาในการเทียบคู่ประมาณ 3 – 10 วัน หรือสังเกตตัวเมียจะมีไข่เต็มที่ (ไข่ออกมากระจุกตรงช่องท้อง)

จากนั้นนำปลาเพศผู้ และเพศเมียมาใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น อ่างดิน ตู้กระจก อ่างซีเมนต์ เป็นต้น ระดับนํ้าสูง 4 – 8 นิ้ว ใส่พรรณไม้นํ้าสะอาด ซึ่งต้องฆ่าเชื้อด้วยด่างทับทิมก่อน  ได้แก่ สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวา เป็นต้นสำหรับเป็นที่เกาะของหวอด
เมื่อปลาเพศผู้ และเมียปรับตัวกับสภาพใหม่ได้แล้ว ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดติดกับไม้น้ำ โดยหวอดจะสร้างขึ้นจากฟองอากาศผสมกับนํ้าเมือกในโพรงปาก สำหรับเป็นรังพัก และฟักไข่ และเป็นที่ยึดเกาะของตัวอ่อนที่ฟักจากไข่
เมื่อสร้างหวอดสำเร็จ ปลาตัวผู้จะกางครีบไล่ต้อนปลาเพศเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด ปลาเพศผู้จะงอตัวเป็นรูปตัวยู (U) หรือตัวเอส(S) รัดปลาเพศเมียให้ช่องอวัยวะเพศ (genital pore) ตรงกัน ปลาเพศเมียจะวางไข่ โดยไข่จะหลุดออกมาทางช่องอวัยวะเพศ และปลาเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมทันที
เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้ว ไข่จะค่อยๆ จมลงสู่ก้นภาชนะ ปลาตัวผู้จะตามลงไป แล้วใช้ปากดูดอมไข่ทีละฟองจนเต็มปาก แล้วว่ายนํ้าขึ้นไปพ่นไข่ไว้ที่หวอดที่สร้างไว้ และจะพ่นฟองอากาศใหม่ติดไว้ใต้หวอด  ส่วนปลาเพศเมียเมื่อออกไข่แล้วก็จะลอยตัวนิ่ง ๆ ช่วงหนึ่ง ซึ่งอาจใช้เวลานานนับชั่วโมงก็ได้ และเมื่อปลาเพศผู้นำไข่พ่นไว้ที่หวอดเสร็จแล้ว ปลาตัวผู้จะไล่ต้อนตัวเมียไปอยูที่มุมภาชนะ จะเฝ้าดูแลไข่เพียงลำพัง และเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวเมียกินไข่ที่ผสมแล้ว ดังนั้น ต้องรีบแยกตัวเมียออกจากภาชนะหลังวางไข่เสร็จ
ปล่อยให้ปลาเพศผู้เฝ้าดูแลไข่อีกประมาณ 2 วัน จึงแยกเพศผู้ออก ซึ่งการฟักตัวของปลากัดจะใช้เวลาประมาณ 30 – 40 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิประมาณ 25 – 32 องศาเซลเซียส
4. การอนุบาลลูกปลากัด
ภาชนะที่ใช้อนุบาลลูกปลา ได้แก่ ตู้กระจก อ่างดิน อ่างปูนซีเมนต์หรือถังไฟเบอร์ แต่ภาชนะที่ดีที่สุด คือ บ่อเพาะพันธุ์ ลูกปลากัดที่ฟักออกมาใหม่จะมีที่พักภายในหวอด และยังคงอยู่ในนั้นจนกระทั่งใช้ไข่แดง (yolk sac) เป็นอาหารหมด โดยจะใช้เวลา 3 – 4 วันแรกหลังการฟักออกจากไข่ ซึ่งระยะนี้ไม่จำเป็นต้องให้อาหาร

หลังจากที่ถุงไข่แดงยุบตัวหมดแล้ว ลูกปลาจะเริ่มหากินอาหาร ระยะนี้จะให้ไข่แดงต้มสุก โดยนำไข่แดงต้มสุกละลายนํ้า กรองผ่านกระชอนตาถี่ ให้กระจายทั่วในนํ้า ทำการให้อาหารวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 – 5 วัน แล้วเปลี่ยนเป็นไรแดง (Moina) ขนาดเล็ก (ตัวอ่อนไรแดง) แยกโดยใช้กระชอนตาถี่กรองไรแดงขนาดเล็ก  เมื่อปลาอายุได้ 10 วัน ให้เลี้ยงต่อไปจนปลาสามารถกินลูกนํ้าได้ (ประมาณ 15 – 20 วัน)
การแยกเพศจะทำได้เมื่อปลาอายุประมาณ 1.5 เดือนขึ้นไป ช่วงต้นของการอนุบาลปลายังมีขนาดเล็กอยู่ทำให้การถ่ายน้ำลำบาก ดังนั้น หลังเมื่อปลามีอายุประมาณ 10 วัน ก็สามารถเปลี่ยนถ่ายนํ้าได้โดยการดูดตะกอน และเปลี่ยนถ่ายนํ้าครั้งละ 2/4-3/4 ของปริมาตรทั้งหมดในบ่อ และควรใส่ผักบุ้งหรือผักตบชวาที่ทำความสะอาดแล้วลงไปในบ่อประมาณ 2 – 3  ต้น เพื่อให้ลูกปลากินเป็นอาหาร และใช้อยู่อาศัย
5. อาหารปลากัด
อาหารที่ให้ควรเหมาะสมกับลูกปลาต้องเป็นอาหารมีคุณค่า และย่อยได้ง่าย อาหารในช่วงต้นการอนุบาลลูกปลา คือ โรติเฟอร์ ตัวอ่อนอาร์ทีเมีย และไข่แดงต้มสุกบดผ่านผ้าขาวบาง

ระยะที่สอง เมื่อลูกปลามีอายุ 10 – 20 วัน อาหารที่ให้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ไรแดง หรืออาร์ทีเมียขนาดเล็กก็ได้
ระยะที่สาม เมื่อลูกปลาอายุ 20 วันขึ้นไป อาหารที่ให้จะเป็นไรแดงตัวเต็มวัย อาร์ทีเมียตัวเต็มวัย ลูกนํ้า และหนอนแดง
อาหารมีชีวิตที่ใช้เลี้ยง ควรล้างให้สะอาด และแช่ด้วยด่างทับทิบเสียก่อน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหาร
นอกจากการให้อาหารมีชีวิตแล้ว ควรฝึกหัดให้ปลากัดกินอาหารสำเร็จรูปด้วย โดยค่อยๆฝึกด้วยการเปลี่ยนเป็นอาหารสำเร็จรูป วันละ 1 ครั้ง วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันครั้ง สำหรับลูกปลาที่มีอายุมากกว่า 20 วัน
ที่มา:https://pasusat.com

บทความที่ได้รับความนิยม